1. แผนการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน (นิสิตวางแผนการทำงานชิ้นนี้ไว้อย่างไร)
แบบแผนที่วางไว้เกี่ยวกับแผนการดำเนินงานกิจการ Social Enterprise ซึ่งกลุ่มของเราได้ดำเนินกิจการภายใต้บริษัทที่มีชื่อว่า Big Five Group โดยสินค้าของบริษัทเราเป็นงาน handmade มีตัวแปรที่สำคัญคือ ไหมพรม ด้วยความหลากหลายของตัวเส้นไหมหรือกลุ่มด้ายที่มีรูปแบบสีสันสวยงาม และลักษณะเฉพาะของไหมนานาชนิด จึงเป็นจุดเด่นเรียกความสนใจในหลายๆกลุ่มคนโดยเฉพาะวัยรุ่น
ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจำพวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าสะพายข้างหรือคล้องคอ พวงกุญแจตุ๊กตาชนิดต่างๆ ที่ได้รับความนิยมตามสื่อโฆษณาโทรทัศน์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเน้นความปราณีต สวยงาม มีความหลากหาย ความคิดสร้างสรรค์ ทันสมัยต่อโลกปัจจุบัน แต่ละชิ้นงานกลั่นกรองมาจากฝีมือที่ประณีตและจินตนาการความคิดที่สร้างสรรค์ ตลอดจนความตั้งใจของผู้ทำที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงานที่สวยงาม
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
(1.) ระยะการวางแผน เป็นขั้นตอนแรกที่เริ่มระดมความคิดของสมาชิกในกลุ่มงาน มีการปรึกษาเตรียมการในเรื่องของข้อมูล ผลิตภัณฑ์ตัวสินค้าว่าต้องการให้ออกมาในรูปแบบใด องค์ประกอบของสินค้ามีอะไร บ้างเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์รวมทั้งค่าใช้จ่ายตลอดการดำเนินกิจการผลรวมประมาณเท่าไหร่ อีกทั้งวิธีการทำ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการดำเนินงาน การพัฒนาแนวความคิดให้เกิดไอเดียใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และสินค้ารูปแบบใดที่เป็นที่ต้องการในตลาดอยู่ในขณะนี้ (2.) ระยะการปฏิบัติงาน เป็นระยะที่ทุกคนต้องดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ คือ การทำงานตามข้อตกลงของแต่ละคนตามที่ได้รับมอบหมายไว้ เช่น นางสาวส้มโอ ดูงานในส่วนของผลิตภัณฑ์ตัวสินค้าของบริษัท การตลาดตลอดจนช่องทางในการจัดจำหน่าย นางสาวแตงโม ดูในส่วนงานของการประชาสัมพันธ์ แบรนด์ สื่อโฆษณาสินค้า นางสาวมะนาว ดูงานในส่วนเอกสารแผนการดำเนินงานต่างๆของบริษัท นางสาวเงาะ ดูในส่วนของบัญชีการเงิน รายได้งบประมาณ เป็นต้น ทั้งนี้การกระจายงานให้ให้กับบุคคลต่างๆ เราควรดูความเหมาะสมในเรื่อง “การใช้คนให้ถูกกับงาน หรือการใช้งานให้เหมาะสมกับคน” ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่จะส่งผลให้การดำเนินงานหรือองค์กรประสบความสำเร็จ
(3.) ระยะการประเมินผล สรุปผล ระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมาก เพราะเป็นการสรุปข้อมูลของการดำเนินงานตั้งแต่ต้นทำให้เรารับรู้ถึงความนิยมและความชื่นชอบในตัวของแบรนด์หรือสินค้าบริษัทเรา ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน อีกทั้งสามารถรับรู้ถึง Feedback ผลตอบรับของตลาดสินค้า เพื่อนำมาประเมินผล ทำการวิเคราะห์ถึงผลที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลที่สรุปนั้นอาจแปลงค่าความหมายออกมาในรูปแบบของกราฟ/แผนภูมิข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่สรุปได้มาปรับปรุงดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป
2. สภาพแวดล้อมในการเรียน / ทำงาน ที่ตนเองคิดว่าเหมาะสม
สภาพแวดล้อมในการเรียน คือ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนหรือคนทำงานประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมในการเรียน คือ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความเข้าใจตรงกัน สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้อย่างชัดเจน ต่อมาในเรื่องของเพื่อนร่วมห้องร่วมชั้นเรียนมีความรักใคร่สามัคคี สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ และในส่วนของห้องเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนควรมีความทันยุคทันสมัย มีสื่อดิจิตอลที่สามารถรองรับต่อเทคโนโลยีความก้าวหน้าในยุคปัจจุบัน เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังกลุ่มบุคคลอื่นๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อผู้เรียนผู้สอนเป็นอย่างมาก เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ลดการเสียเวลา
สภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม สิ่งที่เราต้องพบเจอเป็นอันดับแรกๆ ก็คือ เพื่อนร่วมงาน ห้องทำงานประจำ (office) บรรยากาศในการทำงาน อุปกรณ์การทำงาน ระบบสารสนเทศตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อองค์การ ล้วนมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา มีการUpdate ติดตามเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้อยู่ตลอด ในระหว่างการทำงานมีการแลกเปลี่ยนความรู้หรือ “Knowledge Sharing” ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัทเพื่อให้พนักงานมีความรู้และเสถียรภาพในการปฏิบัติงานสูงสุด
3. ถ้างานสำเร็จตามแผน นิสิตจะให้รางวัลแก่ตนเองอย่างไร
การดำเนินงานที่สามารถทำสำเร็จลุล่วงตามแผนที่วางไว้เป็นแรงจูงใจที่สำคัญทำให้เรากล้าที่จะทำงานชิ้นต่อๆ ไปนั่นก็คือรางวัลอย่างหนึ่งของเราแล้ว งานที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับทุกคน งานทีทำแล้วส่งผลให้บุคคลอื่นมีความสุข นั่นเป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจมากที่สุด การให้รางวัลกับตนเองก็อาจเป็นการผ่อนคลายตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ หรือไม่ก็เป็นการพักผ่อนหย่อนใจอยู่กับบ้าน เพื่อเก็บแรงเติมพลังต่อสู้กับงานชิ้นใหม่ๆ ต่อไป หลังจากการทุ่มเทแรงกายแรงใจไปกับงานชิ้นนั้นๆ อย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วงานนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่เรากำหนดไว้
4. ถ้างานไม่สำเร็จตามแผน นิสิตจะลงโทษตนเองอย่างไร
การที่งานไม่สำเร็จตามแผนที่เราได้วางไว้ ก่อนอื่นเราต้องตรวจสอบก่อนว่ามีเหตุปัจจัยสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ซึ่งในการดำเนินงานส่วนใหญ่ย่อมมีเหตุหรืออุปสรรคมาขัดขวางอยู่เสมอ การทำงานไม่ได้มีความราบรื่นเสมอ ขึ้นอยู่กับการจัดการกับปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรให้เกิดผลดีและเหมาะสมที่สุดกับงานของเรา ถ้าเราคิดว่าเราทำดีที่สุดแล้วแต่เราทำดีได้แค่นี้เราต้องยอมรับกับผลที่เกิดขึ้น แล้วต่อไปภายภาคหน้าเรานำบทเรียนที่ได้รับในครั้งนี้ไปปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานของเราใหม่ พยายามอย่ามองตัวเองในแง่ลบแน่นอนมันจะส่งผลให้เรามีความเครียดเพิ่มมากขึ้น การลงโทษตัวเองบางครั้งก็ได้ผลและบางครั้งก็ไม่ได้ผลเสมอไป สิ่งที่ได้ผลคือ ทำให้เรารู้ถึงความผิดพลาดของงานที่เกิดขึ้น ทำให้เราเกิดความพยามและความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้นใหม่ในครั้งต่อๆ ไป ในทางกลับกันเมื่องานนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ใหม่การลงโทษตัวเองไป ก็ไม่ส่งผลดีให้กับตัวเอง แต่เราสามารถรับรู้ถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขเพียงแค่นี้ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นทำงานชิ้นต่อๆ ไป
5. สรุปผลการทำแบบฝึกหัดตามแผนที่ได้วางไว้ ว่าทำสำเร็จหรือไม่สำเร็จตามแผนอย่างไร และมีการให้รางวัล หรือ ลงโทษตนเองอย่างไร
สรุปผลการทำงานคือ "งานสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี"
ในส่วนของการให้รางวัลตนเองคงเป็นในเรื่องของการมีเวลาพักผ่อนเพิ่มมากขึ้นเพราะเหนื่อยหล้าจากการทำงาน และการเรียนที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติ การเรียนบางครั้งมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอเพราะเราทำงานร่วมด้วย จึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลามากนัก แต่ถ้าคิดในเชิงบวกประสบการณ์เหล่านี้ไม่สามารถหาได้บ่อยมากนัก การที่ได้เข้าไปทำงานกับองค์กรระดับใหญ่ของประเทศ เป็นสิ่งที่ดีหาได้ยาก อีกทั้งได้ร่วมทำงานคนเก่งๆ เรียนเก่งๆ จึงทำให้เราซึมซับแนวความคิดรูปแบบการทำงานแบบต่างๆ มากมาย บางสิ่งบางอย่างเราสามารถนำมาปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ในการเรียนได้เป็นอย่างดี
** ชีวิตจะมีค่า ถ้ารู้ว่าเราอยู่ที่ไหน
กำลังมุ่งหน้าไปยังที่แห่งใด และจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร **